เสียสละด้วยใจ เพื่อรับใช้สังคม
Main Menu
กำลังพลในร่วมสิงห์
Picture
Links เพื่อนบ้านเรา
Links หนังสือพิมพ์
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

ข้อควรจำ ..ในขณะการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาฯ

เข้าที่เกิดเหตุ ต้องทำอย่างไร
        หลักของการปฏิบัติหน้าที่ในที่เกิดเหตุ บางท่านหรือประชาชนจะรับทราบแต่เพียงว่าเจ้าหน้าที่ ของมูลนิธิฯทำหน้าที่เก็บศพเท่านั้นซึ่งในความเป็นจริงหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครฯ ไม่ได้ มีเพียงเท่านี้ การเก็บศพเป็นแค่เพียงบทบาท (Role) ซึ่งยังมี รายละเอียด (Detial) อีกมากมาย สำหรับอาสาสมัครฯ หลายๆ ท่าน อาจเป็นมือวางอันดับหนึ่งหรือที่เรียกว่า "มือโปรฯ" (Professional) คงจะทราบถึงข้อควรปฏิบัติในที่เกิดเหตุเป็นอย่างดี แต่สำหรับ อาสาสมัครฯ น้องใหม่ฯ ที่ต้องการแนวทางไปปฏิบัติ ก็เชิญติดตามได้เลย การปฏิบัติหน้าที่ในที่เกิดเหตุ กรณีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ (ว.40)
        1. เมื่อถึงที่เกิดเหตุควรตรวจสอบก่อนว่าผู้ประสบเหตุบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแล้ว หากพบว่าเป็นอาการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลช่วยเหลือเบื้องต้น หรือขอการสนับสนุนความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ต่างๆได้ โดยติดต่อผ่านศูนย์วิทยุ "พระนคร" หลังจากนั้นจึงค่อยนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ แต่หาก เสียชีวิตแล้วให้ดำเนินการในข้อ 2 ต่อไป
        2. ต้องกันประชาชนที่มุงดูออกจากพื้นที่ที่เกิดเหตุให้ห่างมากที่สุด เพื่อเตรียมพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้ สะดวกที่สุด และรักษาสภาพของสถานที่เกิดเหตุ
        3. ควรดำเนินการถ่ายรูปผู้เสียชีวิตและสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน และอาจใช้เป็นข้อมูล ภาพสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
        4. ทำการบันทึกข้อมูลในที่เกิดเหตุ (ว.8) เช่น ทะเบียนรถ, สีรถ ของผู้เสียชีวิตและคู่กรณี (ถ้ามี) รวมทั้งชื่อ สกุลผู้เสียชีวิต, พื้นที่ที่เกิดเหตุอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจใด, ชื่อ-สกุล ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ทำหน้าที่เป็นร้อยเวร (30), เวลาเกิดเหตุ เป็นต้น
        5. ห้ามเคลื่อนย้ายผู้เสีย ตลอดจนยานพาหนะ ต้องคงอยู่ในสภาพเดิม เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำ หน้าที่ร้อย เวร (30) ในพื้นที่ที่เกิดเหตุและแพทย์ ทำการชันสูตรพลิกศพ
        6. รอคำสั่งให้ร่วมชันสูตรพลิกศพ หลังจากนั้นดำเนินการนำผู้เสียชีวิตไปยังสถานีตำรวจของท้องที่ที่เกิดเหตุ
        7. รอรับใบส่งตัว (ส่งศพ) จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
        8. ดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือผู้เสียชีวิต เพื่อเก็บเป็นหลักฐานทางนิติเวชฯ
        9. หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆครบถ้วนแล้ว ต้องนำศพผู้เสียชีวิตส่งสถาบันนิติเวชฯ เพื่อให้แพทย์ทำ การผ่าพิสูจน์ต่อไป

การเข้าที่เกิดเหตุกรณีมีผู้เสียชีวิตจากฆาตกรรม (เหตุ 241)
        1. ต้องกันประชาชนที่มุงดูออกจากพื้นที่ที่เกิดเหตุให้ห่างมากที่สุด โดยการนำเชือกมากั้นบริเวณโดยรอบที่เกิด เหตุ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกที่สุด และรักษาสภาพของสถานที่เกิดเหตุ
        2. ควรดำเนินการถ่ายรูปผู้เสียชีวิตและสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน และอาจใช้ เป็นข้อมูล ภาพสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
        3. ทำการบันทึกข้อมูลในที่เกิดเหตุ (ว.8) เช่น ชื่อ-สกุลผู้เสียชีวิต, พื้นที่ที่เกิดเหตุอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจใด, ชื่อ-สกุลของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นร้อยเวร (30), เวลาเกิดเหตุ เป็นต้น
        4. ห้ามเคลื่อนย้ายผู้เสีย รื้อค้นทรัพย์สิน อาวุธ หรือวัตถุทางคดีในที่เกิดเหตุ ต้องคงอยู่ในสภาพเดิมเพื่อรอให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่ร้อยเวร (30) ในพื้นที่ที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานและแพทย์ ทำ การชันสูตรพลิกศพ
        5. รอคำสั่งให้ร่วมชันสูตรพลิกศพ หลังจากนั้นดำเนินการนำผู้เสียชีวิตไปยังสถานีตำรวจของท้องที่ที่เกิดเหตุ
        6. รอรับใบส่งตัว (ส่งศพ) จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
        7. ดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือผู้เสียชีวิต เพื่อเก็บเป็นหลักฐานทางนิติเวชฯ
        8. หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆครบถ้วนแล้ว ต้องนำศพผู้เสียชีวิตส่งสถาบันนิติเวชฯ เพื่อให้ แพทย์ทำการผ่าพิสูจน์ต่อไป

ข้อมูลจาก มูลนิธิร่วมกตัญญู


Free Web Hosting